เป้ามายความเข้าใจUnderstanding Goals :

เข้าใจและเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มประเทศอาเซียน เคารพและยอมรับในความแตกต่างทางประเพณี และอยู่ร่วมกันได้อย่างศานติ

Week 5

เป้าหมายรายสัปดาห์:เข้าใจและอธิบายการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ รวมถึงที่มาและจำนวนประชากร (การศึกษา, ศาสนา,ภาษา) และสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้
Week
Input
Process
Output
Outcome
5
13-17..
2560
โจทย์ : 
การเมืองการปกครอง
- ประชากร (การศึกษา,ศาสนาภาษา)
Key Questions :
- เหตุการณ์ในอดีต/สงครามส่งผลต่อการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศอย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไร นักเรียนคิดว่าอะไรคือปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และการปกครองของแต่ละประเทศ
เครื่องมือคิด
       
Round Robin นักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์จากคลิปวีดีโอภาพสงครามเวียดนามและชาวโรฮิงญาในประเทศพม่า
Round robin 
สนทนาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับ
Black board share การรวมกลุ่มสมาคมอาเซียน
Show and share นำเสนอชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่คิดศึกษาในรูปแบบต่างๆเช่น  ละครบทบาทสมมุติ , รายการทัวร์,Time  line, Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
Wall thinking  ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและอุปกรณ์
- คลิปวีดีโอภาพสงครามเวียดนาม
- คลิปวีดีโอชาวโรฮิงญาในประเทศพม่า
- เรื่องเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายของประเทศสิงค์โปร 
- ชุดคำถาม 108
- อินเตอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง:
ครูเปิดคลิปวีดีโอภาพสงครามเวียดนามและชาวโรฮิงญาในประเทศพม่าให้นักเรียนดู


- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดดังนี้
1. คิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น?
2. สาเหตุของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากอะไร?
3. หากเราสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้เราจะแก้ไขอย่างไร?
4. เหตุการณ์ในอดีต/สงครามส่งผลต่อการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศอย่างไร?

เชื่อม:
- นักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์จากคลิปวีดีโอภาพสงครามเวียดนามและชาวโรฮิงญาในประเทศพม่า
ใช้:
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอพร้อมนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟังร่วมกัน
วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ชง:
- ครูเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายของประเทศสิงค์โปร 
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไร นักเรียนคิดว่าอะไรคือปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และการปกครองของแต่ละประเทศ?
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดนักเรียนคิดว่าการเมืองการปกครองที่ประเทศที่ตนเองศึกษามีการปกครองอย่างไร?
เชื่อม:
นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ประเทศที่ตนเองศึกษาและสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
พุธ 1 ชั่วโมง
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและสืบค้นข้อมูล
- นักเรียนตอบคำถาม(ชุดคำถาม 108)
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลตามรอยอาเซียนตามปฏิทินการเดินทาง
เชื่อม:
นักเรียนแต่ละกลุ่มพูดคุยแลกอภิปรายแลกเปลี่ยนนำเสนอข้อมูลของประเทศของตนเองที่สืบค้นให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้และตั้งคำถามในประเด็นต่างๆที่สนใจ
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆ



วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้:
- นักเรียนนำข้อมูลที่ไปศึกษาค้นคว้ามาจัดข้อมูลนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
- นักเรียนตอบคำถาม(ชุดคำถาม 108)

วันศุกร์ 3 ชั่วโมง
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆให้ครูและเพื่อนๆรับฟัง
ชง:                                                                                        
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
เชื่อม:                                                                                    นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้ :                                                                                    
นักเรียนแต่ละคนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
ภาระงาน
- นักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์จากคลิปวีดีโอภาพสงครามเวียดนามและชาวโรฮิงญาในประเทศพม่า
- นักเรียนแต่ละกลุ่มพูดคุยแลกอภิปรายแลกเปลี่ยนนำเสนอข้อมูลของประเทศของตนเองที่สืบค้นให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้และตั้งคำถามในประเด็นต่างๆที่สนใจ

ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอภาพสงครามเวียดนามและชาวโรฮิงญาในประเทศพม่า
- ออกแบบชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่คิดศึกษาในรูปแบบต่างๆเช่น  ละครบทบาทสมมุติ , รายการทัวร์,Time  line, Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์ที่ 5

ความรู้:
เข้าใจและอธิบายการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ รวมถึงที่มาและจำนวนประชากร (การศึกษา, ศาสนา,ภาษา) และสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย



ตัวอย่างภาพกิจกรรม







ตัวอย่างสรุปถอดบทเรียนรายสัปดาห์










1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ป.5 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ รวมถึงที่มาและจำนวนประชากร (การศึกษา, ศาสนา,ภาษา) ในชั่วโมงแรกครูเปิดคลิปวีดีโอเรื่องภาพสงครามเวียดนามและข่าวเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาในประเทศพม่าให้นักเรียนดู หลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้วิเคราะห์และสะท้อนความเข้าใจของตนเองดังนี้
    1. คิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น?
    2. สาเหตุของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากอะไร?
    3. หากเราสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้เราจะแก้ไขอย่างไร?
    4. เหตุการณ์ในอดีต/สงครามส่งผลต่อการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศอย่างไร?
    ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาวิเคราะห์จากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอร่วมกัน พี่น้ำอ้อย: สงครามที่เกิดขึ้นสร้างแต่ความเสียหายให้กับคนทั้งสองฝ่ายค่ะครู พี่ซอ: ถึงแม้สงครามจะจบลงแล้วสิ่งที่เหลือคงไว้คือความทรงจำที่เจ็บปวดค่ะครูเพราะต้องสูญเสียคนที่รัก คนที่รู้จักไป พี่บาส: ภาพอีกภาพคือเด็กเวียดนามต้องจับปืนตั้งแต่เด็กรู้สึกสงสารครับแทนที่จะได้เรียนหนังสือหรือวิ่งเล่นกับเพื่อนต้องได้มาจับปืนต่อสู้ พี่น้ำมนต์: ภาพของคุณลุงอุ้มลูกสาวที่โดนลูกหลงจากสงครามมาขอความเป็นธรรมกับทหารดูแล้วรู้สึกสงสารเพราะไม่รู้เรื่องอะไรต้องมาสูญเสียลูกสาวค่ะ พี่น้ำอ้อย: หนูคิดว่าคนที่เป็นทหารเขาก็คงไม่อยากจะยิงคนค่ะแต่ว่ามันเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องทำเพื่อรักษาความสงบให้กับคนส่วนมาก พี่แป้ง:ความเข้าใจใหม่ของหนู หนูคิดว่าสงครามเกิดขึ้นเพื่อแย่งชิงพื้นที่กันเท่านั้นหนูได้ความรู้ใหม่ว่าสงคราเกิดที่เกิดจากการแบ่งแยกศาสนาการไม่ยอมรับเคารพสิทธิ์กันก็ก่อให้เกิดสงครามค่ะครูเช่นชาวโรฮิงญาในพม่า หลังจากจบการสนทนาครูให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิปวีดีโอผ่านคำถาม 3 ข้อพร้อมนำเสนอความเข้าใจให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง ในสัปดาห์นี้เนื่องจากเนื้อหาที่พี่ๆไปศึกษามาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศยังไม่ครอบคลุมและในวันศุกร์มีกิจกรรมเดินทางไกลจึงเลื่อนนำเสนองานการเดินทางศึกษาอาเซียนไปในสัปดาห์ที่6 ค่ะ

    ตอบลบ