เป้ามายความเข้าใจUnderstanding Goals :

เข้าใจและเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มประเทศอาเซียน เคารพและยอมรับในความแตกต่างทางประเพณี และอยู่ร่วมกันได้อย่างศานติ

Week 7

เป้าหมายรายสัปดาห์:เข้าใจและสามารถอธิบายความหลากหลายของประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงความเชื่อทางศาสนาของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน


Week
Input
Process
Output
Outcome
7
20-24..
2560
โจทย์ : 
วัฒนธรรม
- ศิลปะ
- อาหาร
- ภาพยนตร์
- นาฏศิลป์
- เทศกาล
- ประเพณี
- วันสำคัญ
- กีฬา
- อื่นๆ ฯลฯ
Key Questions :
- วัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างไร?
เครื่องมือคิด
       
Round robin  พูดคุยสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
Black board share  สิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทานนานาชาติ
Wall  thinking  ติดชิ้นงานความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศที่ตนเองได้ศึกษาค้นคว้ามา
Show and  share นำเสนออาหารประจำชาติอาเซียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและอุปกรณ์
- เรื่องเล่าปลาบึก ในลุ่มแม่น้ำโขง
- ชุดคำถาม 108
- อินเตอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง:
- ครูเปิดคลิปวีดีโอเรื่องเส้นนานาชาติให้นักเรียนดูหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นการคำเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและจะนำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างไร?
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่าเส้นแต่ประเทศในอาเซียนเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม:
นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันกับความเหมือนและความแตกต่างของเส้นแต่ละประเทศในอาเซียนร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นเส้นแต่ละประเทศในอาเซียน
ชง:
ครูให้โจทย์นักเรียนประกอบอาหารประจำชาติโดยครูมีขนมจีนมาให้นักเรียนประกอบอาหารในประเทศนั้นๆที่เดินทางไปเรียนรู้
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบเมนูอาหารจากเส้นและแบ่งหน้าที่เตรียมอุปกรณ์มาประกอบอาหาร
วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มประกอบอาหารประจำชาติ
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนออาหารประจำชาติของกลุ่มตนเองและรับชิมอาหาร
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง:
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างไร?
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์
- นักเรียนตอบคำถาม(ชุดคำถาม 108)
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลตามรอยอาเซียนตามปฏิทินการเดินทาง
เชื่อม:
-นักเรียนแต่ละกลุ่มพูดคุยแลกอภิปรายแลกเปลี่ยนนำเสนอข้อมูลของประเทศของตนเองที่สืบค้นให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้และตั้งคำถามในประเด็นต่างๆที่สนใจ
ใช้:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆ
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้:
- นักเรียนนำข้อมูลที่ไปศึกษาค้นคว้ามาจัดข้อมูลนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
- นักเรียนตอบคำถาม(ชุดคำถาม 108)

วันศุกร์ 3 ชั่วโมง
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆให้ครูและเพื่อนๆรับฟัง
ชง:                                                                                        
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
เชื่อม  : นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

ภาระงาน
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันกับความเหมือนและความแตกต่างของเส้นแต่ละประเทศในอาเซียนร่วมกัน
- นักเรียนพูดคุยสนทนาวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์

ชิ้นงาน
- ออกแบบชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่คิดศึกษาในรูปแบบต่างๆเช่น  ละครบทบาทสมมุติ , รายการทัวร์,Time  line, Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์ที่ 7


ความรู้:
เข้าใจและสามารถอธิบายความหลากหลายของประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงความเชื่อทางศาสนาของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์

คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย





ตัวอย่างภาพกิจกรรม




















ตัวอย่างชิ้นงาน








ตัวอย่างสรุปสัปดาห์



1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ป.5 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในชั่วโมงแรกครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างไร? ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ครูเปิดคลิปวีดีโอเรื่องเส้นนานาชาติและอาหารอันโอชารสตอน เส้น ให้นักเรียนดูหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดนักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างไร?
    พี่น้ำอ้อย: เส้นแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันออกไปค่ะเช่นประเทศไทยใช้ข้าวทำแป้งแต่ประเทศจีนใช้ข้าวฟ่างกับข้าวสาลีทำเส้นค่ะ
    พี่บาส: เส้นของประเทศไทยเหมือนประเทศลาวครับและประเทศลาวเหมือนกับประเทศเวียดนามส่วนเส้นของประเทศเวียดนามเหมือนกับประเทศจีนครับเพราะได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน
    หลังจากจบการสนทนาครูครูให้โจทย์พี่ๆป.5 ประกอบอาหารประจำชาติโดยครูมีขนมจีนมาให้นักเรียนประกอบอาหารในประเทศนั้นๆที่เดินทางไปเรียนรู้ พี่ๆป.5 แต่ละกลุ่มศึกษาวิธีการทำอาหารประจำชาติในอาเซียนพร้อมออกแบบและวางแผนเตรียมอุปกรณ์มาประกอบอาหารในวันอังคาร พี่ป.5 แต่ละกลุ่มเลือกประเทศในอาเซียนและเมนูอาหารดังนี้
    กลุ่มพี่บาสเลือกประเทศเวียดนามกลุ่มผมทำก๋วยจั๊บญวนครับ
    กลุ่มพี่น้ำมนต์:กลุ่มหนูไปประเทศพม่า กลุ่มหนูทำยำข้าวซอยค่ะ
    กลุ่มที่อั้ม:เลือกประเทศสิงคโปร์กลุ่มหนูทำลอดช่องสิงคโปร์ค่ะ
    กลุ่มพี่มิ้นท์:เลือกประเทสไทยกลุ่มหนูทำเมนูยำขนมจีนค่ะครู
    กลุ่มพี่บีม:เลือกไปประเทศพม่าทำเมนูโมฮิงกา(ขนมจีนพม่า)
    ในวันอังคารพี่ๆแต่ละกลุ่มนำอุปกรณ์มาประกอบอาหารพี่ๆแต่ละคนต่างก็แบ่งหน้าที่กันประกอบอาหาร เมื่อประกอบอาหารเสร็จพี่ๆป.5 แต่ละกลุ่มนำเสนออาหารประจำชาติของตัวเองให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟังพร้อมทั้งร่วมชิมอาหารของเพื่อนแต่ละกลุ่ม หลังจากชิมเสร็จพี่ๆป.5 แต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์รสชาติของอาหารของแต่ละประเทศร่วมกัน
    พี่น้ำมนต์:กลุ่มหนูกับกลุ่มพี่บีมมีรสชาติเหมือนกันค่ะครูคนประเทศพม่าจะชอบกินอาหารที่มันและเผ็ดค่ะ
    พี่บาส:อาหารเวียดนามจะเป็นอาหารที่มีรสจืดครับเหมือนกับคนจีนเขาไม่กินเผ็ดครับ
    หลังจากที่พี่ๆช่วยกันวิเคราะห์ร่วมกันพี่ๆแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางของประเทศที่ตนเองศึกษาร่วมทั้งวัฒนธรรมการกิน ประเพณีและความเชื่อที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในแต่ละประเทศและนำข้อมูลที่ได้มาพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์ร่วมกัน ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.5 ต่างก็ตื่นเต้นและตั้งใจในการประกอบอาหารประจำชาติในอาเซียนได้ดีมากค่ะ

    ตอบลบ